English
image
หลักสูตรปริญญาเอกหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2566)

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สารสนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ)

หลักสูตร


ชื่อหลักสูตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สารสนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ)
Doctor of Philosophy (Health Informatics)
แบนเนอร์
Degree awarded ชื่อเต็มภาษาไทย
    หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2566)
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ
    Doctor of Philosophy Program in Health Informatics
ชื่อย่อภาษาไทย
    ปร.ด. (สารสนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ)
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ
    Ph.D. (Health Informatics)
Awarding body & teaching institution คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม
วันที่หลักสูตรมีผลใช้งาน หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566 จะเริ่มใช้ในภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2566
ที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะ ครั้งที่ 9/2565 เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2565
สภาวิชาการให้ความเห็นชอบในการประชุมครั้งที่ 9/2565 เมื่อวันที่ 26 เดือน กันยายน พ.ศ. 2565
สภามหาวิทยาลัยอนุมัติหลักสูตรในการประชุมครั้งที่ 10/2565 เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2565
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พิจารณาความสอดคล้องและออกรหัสหลักสูตร เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2566
Program learning outcomes (PLOs)
Benchmark related to PLOs
แผนการศึกษา แบบ 1.1 ประกอบด้วย

1) หมวดวิชาบังคับ (ไม่นับหน่วยกิต) 7 หน่วยกิต
2) วิทยานิพนธ์ (มีค่าเทียบเท่า) 48 หน่วยกิต
รวมตลอดหลักสูตร (มีค่าเทียบเท่า) 48 หน่วยกิต และสอบวัดคุณสมบัติ

แบบ 2.1 ประกอบด้วย
1) หมวดวิชาบังคับ 7 หน่วยกิต
2) หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 5 หน่วยกิต
3) วิทยานิพนธ์ (มีค่าเทียบเท่า) 36 หน่วยกิต
รวมตลอดหลักสูตร (มีค่าเทียบเท่า) 48 หน่วยกิต และสอบวัดคุณสมบัติ
เกณฑ์ผู้สมัครแต่ละแผน สำหรับแผน 1.1
1) สำเร็จการศึกษาระดับมหาบัณฑิต จากสถาบันอุดมศึกษาที่กระทรวง ศึกษาธิการหรือ ก.พ. รับรอง โดยจะต้องได้รับปริญญาที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ในระดับบัณฑิตศึกษา และ/หรือ ปริญญาบัณฑิต
2) มีความรู้และ/หรือทักษะ ข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
     2.1) ศึกษาวิชาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ สารสนเทศศาสตร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต จากสถาบันอุดมศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการหรือ ก.พ. รับรอง และค่าเฉลี่ยของวิชาเหล่านี้ ต้องไม่น้อยกว่า 3.00 โดยคิดจากหลักสูตรใดหลักสูตรหนึ่งหรือคิดจากผลการศึกษาเฉลี่ยจนถึงภาคการศึกษาสุดท้ายของหลักสูตรที่กำลังศึกษาอยู่ หรือ
     2.2) ผ่านการอบรมหลักสูตรเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ไม่น้อยกว่า 80 ชั่วโมงที่ทาง คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นผู้จัด หรือ
     2.3) มีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศศาสตร์ซึ่งเผยแพร่ตีพิมพ์ในประชุมวิชาการ อย่างน้อย 1 เรื่อง ที่มีผลงานฉบับเต็ม (full paper) อยู่ในหนังสือรายงานการประชุม (proceedings) หรืองานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ อย่างน้อย 1 เรื่อง หรือ
     2.4) มีประสบการณ์ในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศเฉพาะด้าน เช่น ระบบฐานข้อมูล การพัฒนาระบบงานสุขภาพ การพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อสนับสนุนการทำงาน โดยไม่รวมการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศพื้นฐาน ไม่น้อยกว่า 3 ปี โดยต้องมีหนังสือรับรองจากหน่วยงาน
3) มีคุณสมบัติครบถ้วนที่กำหนดในข้อบังคับมหาวิทยาลัยศิลปากร ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2561 (ภาคผนวก ก) และ/หรือที่มีการเปลี่ยนแปลงภายหลัง
4) มีคุณสมบัติครบถ้วนตามมาตรฐานความสามารถทางภาษาอังกฤษสำหรับผู้ที่จะเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก มหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. 2562 (ภาคผนวก ก) และ/หรือที่มีการเปลี่ยนแปลงภายหลัง

สำหรับแผน 2.1
1) สำเร็จการศึกษาระดับมหาบัณฑิต จากสถาบันอุดมศึกษาที่กระทรวง ศึกษาธิการหรือ ก.พ. รับรอง โดยจะต้องได้รับปริญญาที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ในระดับบัณฑิตศึกษา และ/หรือ ปริญญาบัณฑิต
2) มีคุณสมบัติครบถ้วนที่กำหนดในข้อบังคับมหาวิทยาลัยศิลปากร ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2561 (ภาคผนวก ก) และ/หรือที่มีการเปลี่ยนแปลงภายหลัง
3) มีคุณสมบัติครบถ้วนตามมาตรฐานความสามารถทางภาษาอังกฤษสำหรับผู้ที่จะเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก มหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. 2562 (ภาคผนวก ก) และ/หรือที่มีการเปลี่ยนแปลงภายหลัง
โครงสร้างหลักสูตร แบบ 1.1 ประกอบด้วย
หมวดวิชาบังคับ (ไม่นับหน่วยกิต) 7 หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ (มีค่าเทียบเท่า) 48 หน่วยกิต
รวมตลอดหลักสูตร และสอบวัดคุณสมบัติ (มีค่าเทียบเท่า) 48 หน่วยกิต


แบบ 2.1 ประกอบด้วย
หมวดวิชาบังคับ 7 หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 5 หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ (มีค่าเทียบเท่า) 36 หน่วยกิต
รวมตลอดหลักสูตร และสอบวัดคุณสมบัติ (มีค่าเทียบเท่า) 48 หน่วยกิต
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
1) นักวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานสารสนเทศทางสุขภาพ ในหน่วยงานราชการ และเอกชน ที่เกี่ยวข้องด้านสุขภาพ และ/หรือ เทคโนโลยีสารสนเทศ
2) นักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับงานสารสนเทศทางสุขภาพ ในหน่วยงานราชการ และเอกชนที่เกี่ยวข้อง ด้านสุขภาพ และ/หรือ เทคโนโลยีสารสนเทศ
3) ผู้สอน อาจารย์ที่เกี่ยวข้องกับงานสารสนเทศทางสุขภาพ ในหน่วยงานราชการ และเอกชนที่เกี่ยวข้อง ด้านสุขภาพ และ/หรือ เทคโนโลยีสารสนเทศ
4) ประกอบอาชีพตามพื้นฐานเดิมของผู้เข้าศึกษา โดยมีความรู้ขั้นสูงด้านสารสนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ สามารถเป็นผู้นำในการนำองค์ความรู้และทักษะขั้นสูงมาใช้ในหน่วยงาน

Program Structure


แบบ 1.1

ปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1

รหัสวิชา ชื่อรายวิชา จำนวนหน่วยกิจ
571 701 สารสนเทศศาสตร์สุขภาพและการประยุกต์ 2*(2-0-4)
571 702 หลักและวิธีการวิจัยสารสนเทศศาสตร์สุขภาพ 2*(2-0-4)
571 704 สัมมนางานวิจัยสารสนเทศศาสตร์สุขภาพ 1 1*(0-3-0)
รวมจำนวน -


ปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2

รหัสวิชา ชื่อรายวิชา จำนวนหน่วยกิจ
571 703 การศึกษาเบื้องต้นและการพัฒนาโครงร่างวิจัยสารสนเทศศาสตร์สุขภาพ 1*(0-3-0)
571 705 สัมมนางานวิจัยสารสนเทศศาสตร์สุขภาพ 2 1*(0-3-0)
571 752 วิทยานิพนธ์ (มีค่าเทียบเท่า) 8
รวมจำนวน 8


ปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1

รหัสวิชา ชื่อรายวิชา จำนวนหน่วยกิจ
571 752 วิทยานิพนธ์ (มีค่าเทียบเท่า) 10
รวมจำนวน 10


ปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2

รหัสวิชา ชื่อรายวิชา จำนวนหน่วยกิจ
571 752 วิทยานิพนธ์ (มีค่าเทียบเท่า) 10
รวมจำนวน 10


ปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1

รหัสวิชา ชื่อรายวิชา จำนวนหน่วยกิจ
571 752 วิทยานิพนธ์ (มีค่าเทียบเท่า) 10
รวมจำนวน 10


ปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2

รหัสวิชา ชื่อรายวิชา จำนวนหน่วยกิจ
571 752 วิทยานิพนธ์ (มีค่าเทียบเท่า) 10
รวมจำนวน 10



แบบ 2.1

ปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1

รหัสวิชา ชื่อรายวิชา จำนวนหน่วยกิจ
รหัสวิชา ชื่อรายวิชา จำนวนหน่วยกิจ
571 701 สารสนเทศศาสตร์สุขภาพและการประยุกต์ 2(2-0-4)
571 702 หลักและวิธีการวิจัยสารสนเทศศาสตร์สุขภาพ 2(2-0-4)
571 704 สัมมนางานวิจัยสารสนเทศศาสตร์สุขภาพ 1 1(0-3-0)
วิชาเลือก 3
รวมจำนวน 8


ปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2

รหัสวิชา ชื่อรายวิชา จำนวนหน่วยกิจ
571 703 การศึกษาเบื้องต้นและการพัฒนาโครงร่างวิจัยสารสนเทศศาสตร์สุขภาพ 1(0-3-0)
571 705 สัมมนางานวิจัยสารสนเทศศาสตร์สุขภาพ 2 1(0-3-0)
571 751 วิทยานิพนธ์ (มีค่าเทียบเท่า) 8
วิชาเลือก 2
รวมจำนวน 8


ปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1

รหัสวิชา ชื่อรายวิชา จำนวนหน่วยกิจ
571 751 วิทยานิพนธ์ (มีค่าเทียบเท่า) 8
รวมจำนวน 8


ปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2

รหัสวิชา ชื่อรายวิชา จำนวนหน่วยกิจ
571 751 วิทยานิพนธ์ (มีค่าเทียบเท่า) 8
รวมจำนวน 8


ปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1

รหัสวิชา ชื่อรายวิชา จำนวนหน่วยกิจ
571 751 วิทยานิพนธ์ (มีค่าเทียบเท่า) 8
รวมจำนวน 8


ปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2

รหัสวิชา ชื่อรายวิชา จำนวนหน่วยกิจ
571 751 วิทยานิพนธ์ (มีค่าเทียบเท่า) 8
รวมจำนวน 8


ปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1

รหัสวิชา ชื่อรายวิชา จำนวนหน่วยกิจ
572 752 วิทยานิพนธ์ (มีค่าเทียบเท่า) 12
572 708 ความก้าวหน้าวิทยานิพนธ์ 3 1*(0-3-0)
รวมจำนวน 12



หมายเหตุ * หมายถึง รายวิชาที่เรียนโดยไม่นับหน่วยกิต




ระบุเวลาปกติ และเวลาเรียนสูงสุด แยกตามแผนการศึกษา


ระยะของหลักสูตร 3 ปี สามารถศึกษาได้ไม่เกิน 6 ปี

รายวิชา


รายชื่อ course พร้อม course description


571 701 สารสนเทศศาสตร์สุขภาพและการประยุกต์
(Health Informatics and Applications)


     เงื่อนไข : แบบ 1.1 วัดผลการศึกษาเป็น S หรือ U

     มโนทัศน์พื้นทางสารสนเทศศาสตร์สุขภาพ ทักษะสารสนเทศศาสตร์ ระบบสารสนเทศสุขภาพ แหล่งข้อมูลและแนวทางการจัดการทางคลินิก มาตรฐานสารสนเทศและระบบการสื่อสารการดูแลสุขภาพ นิยามศัพท์ทางสารสนเทศสุขภาพ ระบบสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ กฎหมายและจริยธรรมของการเข้าถึงและใช้สารสนเทศสุขภาพ ความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูล ตัวอย่างสาขาที่เกี่ยวข้อง กับสารสนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ และการประยุกต์ใช้ในระดับองค์กรและประเทศ

     Basic concepts for health informatics, informatics skills, information system in healthcare, information sources and clinical management system, standard information and healthcare communication system, terminology in health informatics, electronic healthcare system, law and ethical of information accessed and used, privacy and safety of information, examples of health-related informatics fields and the application in organization and national level.

2(2-0-4)
571 702 หลักและวิธีการวิจัยสารสนเทศศาสตร์สุขภาพ
(Principles and Methods in Health Informatics Research)


     ระเบียบวิธีและขั้นตอนการทำวิจัยสารสนเทศศาสตร์สุขภาพอย่างเป็นระบบ การกำหนดเรื่องและหัวข้อวิจัย การวางแผน การออกแบบ ตัวแปรและข้อมูล ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง การเขียนโครงร่าง สถิติสำหรับการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูล การแปรผล การเผยแพร่งานวิจัย จริยธรรมในงานวิจัย

     Methods and process of conducting a health informatics research in systematic approach; selection of a research topic; planning; and design of a research project, variables and data, population and sample, research proposal writing, statistics for research, data analysis, result interpretation, research dissemination, and research ethics.

2(2-0-4)
571 703 การศึกษาเบื้องต้นและการพัฒนาโครงร่างวิจัยสารสนเทศศาสตร์สุขภาพ
(Preliminary Study and Proposal Development in Health Informatics)


     เงื่อนไข : แบบ 1.1 วัดผลการศึกษาเป็น S หรือ U

     การกำหนดโจทย์และหัวข้อวิจัย ที่มาและความสำคัญ วัตถุประสงค์ ขอบเขต ระเบียบวิธีวิจัย การศึกษาเบื้องต้นเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ และ การพัฒนาโครงร่างวิจัย

     Identification of research problem and topic, background and significance, objectives, scope, research methodology, preliminary study, and research proposal development.

1(0-3-0)
571 704 สัมมนางานวิจัยสารสนเทศศาสตร์สุขภาพ 1
(Seminar in Health Informatics Research I)


     เงื่อนไข : แบบ 1.1 วัดผลการศึกษาเป็น S หรือ U

     สืบค้น และรวบรวมเรียบเรียงข้อมูลที่เกี่ยวข้องในงานวิจัยสารสนเทศศาสตร์สุขภาพจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ วิเคราะห์สารสนเทศที่รวบรวมได้เพื่อนำเสนอและอภิปรายโดยให้เหตุผลประกอบ

     Retrieving and compiling of information related to health informatics research from various sources, analysis of collected information for presentation and discussion by reasoning.

1(0-3-0)
571 705 สัมมนางานวิจัยสารสนเทศศาสตร์สุขภาพ 2
(Seminar in Health Informatics Research II)


     เงื่อนไข : แบบ 1.1 วัดผลการศึกษาเป็น S หรือ U

     สืบค้น และรวบรวมเรียบเรียงข้อมูลที่เกี่ยวข้องในงานวิจัยสารสนเทศศาสตร์สุขภาพจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ วิเคราะห์สารสนเทศที่รวบรวมได้เพื่อนำเสนอและอภิปรายโดยให้เหตุผลประกอบ

     Searching and compiling relevant information in health informatics research from various sources, analysis of collected information for presentation and discussion with supporting reasons.

1(0-3-0)
571 711 ระบบคอมพิวเตอร์และหลักการโปรแกรมสำหรับสารสนเทศศาสตร์สุขภาพ
(Computer Systems and Principles of Programming for Health Informatics)


     ส่วนประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การประมวลผลข้อมูล การจัดการฐานข้อมูล สำหรับระบบสารสนเทศสุขภาพ ระบบความปลอดภัยและกฎหมายสำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศ ภาษาสำหรับการโปรแกรมและหลักการโปรแกรมสำหรับแก้ปัญหาในงานด้านสารสารสนเทศศาสตร์สุขภาพ การประเมินระบบคอมพิวเตอร์และหลักการโปรแกรม

     Components of computer system; operating system; computer network; data processing; database management in health information system; security systems and laws for information technology; programming languages and principles for solving problems in health informatics; evaluation of computer systems and programming.

3(2-2-5)
571 712 การโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับสารสนเทศศาสตร์สุขภาพขั้นสูง
(Computer Programming in Advanced Health Informatics)


     การโปรแกรมข้อมูลแบบพื้นฐาน การเขียนอัลกอริทึม การคำนวณและแสดงผลลัพธ์ สภาวะแวดล้อมและเครื่องมือสำหรับการพัฒนาโปรแกรม เทคนิคการโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพ และนำมาประยุกต์ในงานด้านสารสนเทศศาสตร์ทางสุขภาพขั้นสูง

      Basic data programming, algorithm writing, calculation and result display, environment and tools for program development, efficient technique in programming, and applications in advanced health-related informatics.

3(2-2-5)
571 713 การจัดทำฐานข้อมูลและเหมืองข้อมูลสำหรับสารสนเทศศาสตร์สุขภาพ
(Database Implementation and Data Mining for Health Informatics)


     การออกแบบฐานข้อมูล แบบจำลองเอ็นทิตี แบบจำลองฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ การนอร์มอลไลเซชันของตารางในฐานข้อมูล การจัดทำฐานข้อมูล การเลือกฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ การสร้างตาราง ความสัมพันธ์ การสอบถาม แบบฟอร์ม และรายงาน การวิเคราะห์ข้อมูลแบบหลายมิติ การทำเหมืองข้อมูล สำหรับการจัดการสารสนเทศสุขภาพ

     Database design; entity relationship model, relational database model, normalization of tables in databases, database construction; hardware and software selection; creation of tables, relationship, queries, forms and reports; multi-dimensional data analysis; data mining for health information management.

3(3-0-6)
571 714 การสืบค้นสารสนเทศศาสตร์สุขภาพขั้นสูง
(Advanced Health Information Searching)


     ประเภทและแหล่งของสารสนเทศสุขภาพ หลักการและเทคนิคการสืบค้นสารสนเทศขั้นสูงสำหรับการสืบค้นสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นการประยุกต์คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต และเทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนการประเมินความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือของสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศ

     Types and sources of health information, principle and advanced technique for effective information searching focusing on the applications of computers, the Internet, and information technology; evaluation of validity and reliability of information and sources of information.

2(2-0-4)
571 715 วิทยาการข้อมูลสำหรับสารสนเทศศาสตร์สุขภาพ
(Data Science for Health Informatics)


     วิทยาศาสตร์ข้อมูลเบื้องต้น กระบวนการของข้อมูล การสำรวจข้อมูลและ การแสดงภาพ สถิติและการเรียนรู้ของเครื่อง การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ การประเมินแบบจำลองการคาดการณ์ และการประยุกต์วิทยาการข้อมูลกับงานสารสนเทศศาสตร์สุขภาพ

     Basic data science, data process, data exploration and visualization, statistics and machine learning, predictive analytics, evaluating predictive models and applying data science to health informatics activities.

3(3-0-6)
571 716 การสร้างและเผยแพร่สื่อสุขภาพ
(Creation and Dissemination Health Media)


     การสร้างสื่อและสื่อประสมทางสุขภาพ การสื่อสารทางสุขภาพ และการใช้เครื่องมือในรูปแบบต่าง ๆ สำหรับสร้างสื่อ โดยเน้นการนำมาประยุกต์ใช้กับงานทางด้านสารสนเทศทางสุขภาพ

     Creation of health media and multi-media; health communication and application of tools for media production focusing on the applications in health informatics activities.

2(2-0-4)
571 717 หลักชีวสารสนเทศศาสตร์และการประยุกต์
(Bioinformatics Principle and Applications)


     พื้นฐานของศาสตร์ทางคอมพิวเตอร์ ชีววิทยา เคมี คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ ที่เป็นพื้นฐานแบบบูรณาการเพื่อการศึกษาชีวสารสนเทศศาสตร์ เครื่องมือทางชีวสารสนเทศ และการประยุกต์ใช้สำหรับอธิบายหรือหาคำตอบเกี่ยวกับปัญหาทางการแพทย์และชีวโมเลกุลทางการแพทย์

     Basic integrated sciences of computer, biology, chemistry, mathematics, physics fundamental to bioinformatics investigation, bioinformatic tools, and applications to explain or provide answer to medical problems and biomolecular medicine.

3(2-2-5)
571 718 การวิจัยสุขภาพดิจิทัล
(Digital Health Research)


     การวิจัยการแพทย์ดิจิทัล การใช้เทคโนโลยีโมบาย สื่อสังคมออนไลน์ อุปกรณ์สวมใส่และเซ็นเซอร์ และเครื่องใช้ในบ้านที่มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่าย เพื่อสุขภาพ

     Research on digital health, mobile technologies, social media, novel wearable devices and sensors, connected home appliances for health.

2(2-0-4)
571 719 สารสนเทศศาสตร์การแพทย์แม่นยำ
(Precision Medicine Informatics)


     การบูรณาการพื้นฐานของวิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาในเรื่องสารสนเทศศาสตร์การแพทย์แม่นยำ ตัวอย่างเช่น ชีวการแพทย์โมเลกุล การรักษาเฉพาะราย การตรวจระดับยีน ความสัมพันธ์ของยีนและโรค เครื่องมือชีวสารสนเทศและการคำนวณเพื่อนำมาอธิบายการรักษาด้วยยาหรือชีวโมเลกุล หรือประยุกต์ให้เฉพาะกับโรคและสภาวะของบุคคลที่เป็นอยู่

     Integration of basic sciences for the investigation in health-related precision medicine; biomedical molecule, personalize medicine, genetic analysis, gene and disease association, bioinformatics tools and calculation, to explain drug or biomolecule therapy, or apply specifically to personal disease and health status.

2(2-0-4)
571 720 หัวข้อปัจจุบันด้านสารสนเทศศาสตร์สุขภาพ 1
(Current Topics in Health Informatics I)


     การปฏิบัติการในการแก้ปัญหาโดยการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อปัจจุบันในสารสนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ

     Laboratory studies to solve problems by conducting research on current topics in health informatics.

1(0-3-0)
571 721 หัวข้อปัจจุบันด้านสารสนเทศศาสตร์สุขภาพ 2
(Current Topics in Health Informatics II)


     การศึกษาทางทฤษฎีและปฏิบัติการโดยการวิจัยหัวข้อปัจจุบันในสารสนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ

     Theoretical and practical studies by conducting research on current topics in health informatics.

2(1-2-3)
571 722 หัวข้อพิเศษด้านสารสนเทศศาสตร์สุขภาพ 1
(Special Topics in Health Informatics I)


     การศึกษาทางทฤษฎีขั้นสูงในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานทางด้านสารสนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ

     Advanced theoretical studies on special topics in health informatics.

2(2-0-4)
571 723 หัวข้อพิเศษด้านสารสนเทศศาสตร์สุขภาพ 2
(Special Topics in Health Informatics II)


     การศึกษาทางทฤษฎีและปฏิบัติการขั้นสูงโดยการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อพิเศษในสารสนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ

     Advanced theoretical and practical studies by conducting research on special topics in health informatics.

3(2-2-5)
571 751 วิทยานิพนธ์
(Thesis)


     ดําเนินการวิจัยในหัวข้อทางสารสนเทศศาสตร์ทางสุขภาพในการดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา

     Conducting specific research on a topic related to health informatics under the supervision of a thesis advisor.

(มีค่าเทียบเท่า) 36 หน่วยกิต
571 752 วิทยานิพนธ์
(Thesis)


     ดําเนินการวิจัยในหัวข้อทางสารสนเทศศาสตร์ทางสุขภาพในการดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา

     Conducting specific research on a topic related to health informatics under the supervision of a thesis advisor.

(มีค่าเทียบเท่า) 48 หน่วยกิต



images/msg_ico_n.png
images/msg_ico.png