English
image
หลักสูตรปริญญาโทเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (เภสัชศาสตร์สังคมและการบริหาร)

หลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์สังคมและการบริหาร (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566)

หลักสูตร


ชื่อหลักสูตร หลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์สังคมและการบริหาร (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566)
Master of Pharmacy Program in Social and Administrative Pharmacy (Revised 2023)
แบนเนอร์
Degree awarded ชื่อเต็มภาษาไทย
    เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (เภสัชศาสตร์สังคมและการบริหาร)
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ
    Master of Pharmacy (Social and Administrative Pharmacy)
ชื่อย่อภาษาไทย
    ภ.ม. (เภสัชศาสตร์สังคมและการบริหาร)
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ
    M.Pharm. (Social and Administrative Pharmacy)
Awarding body & teaching institution คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ อ.เมือง จ.นครปฐม
วันที่หลักสูตรมีผลใช้งาน หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566 จะเริ่มใช้ในภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2566
ที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะ โดยมติเวียนครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2566
สภาวิชาการให้ความเห็นชอบในการประชุมครั้งที่ 4/2566 เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2566
สภามหาวิทยาลัยอนุมัติหลักสูตรในการประชุมครั้งที่ 5/2566 เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
Program learning outcomes (PLOs)
Benchmark related to PLOs
แผนการศึกษา แผน 1 แบบวิชาการ จำนวนไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
เกณฑ์ผู้สมัครแต่ละแผน แผน 1 แบบวิชาการ
1) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาเภสัชศาสตร์
2) มีผลการศึกษาระดับปริญญาตรีเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50 หรือเป็นผู้มีประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับสาขาวิชาเภสัชศาสตร์มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
3) มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยศิลปากร ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2566 (ภาคผนวก ก) และ/หรือที่มีการเปลี่ยนแปลงภายหลัง
4) ผู้มีคุณสมบัติอย่างอื่น ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการประจำคณะเภสัชศาสตร์
โครงสร้างหลักสูตร แผน 1 แบบวิชาการ จำนวนไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต

วิชาบังคับ 17 หน่วยกิต
วิชาเลือก(จำนวนไม่น้อยกว่า) 7 หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์(จำนวนไม่น้อยกว่า) 12 หน่วยกิต
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา 1) เภสัชกรผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานรัฐและเอกชน เช่น โรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด บริษัทยา โรงงานผลิตยา ร้านยา
2) ผู้สอน นักวิชาการ และนักวิจัยในหน่วยงานรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับทางด้านเภสัชศาสตร์
3) นักวิชาการอิสระทางด้านเภสัชศาสตร์สังคมและการบริหาร

Program Structure


แผน 1 แบบวิชาการ

ปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1

รหัสวิชา ชื่อรายวิชา จำนวนหน่วยกิจ
562 501 การจัดการองค์กรสมรรถนะสูง 3(3-0-6)
562 504 การจัดการนวัตกรรมทางเภสัชกรรม 3(3-0-6)
562 506 สัมมนาทางเภสัชศาสตร์สังคมและการบริหาร 1(0-3-0)
วิชาเลือก 4
รวมจำนวน 11


ปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2

รหัสวิชา ชื่อรายวิชา จำนวนหน่วยกิจ
562 502 การจัดการระบบยา 3(3-0-6)
562 503 โลกทัศน์ทางสังคมวิทยาและวัฒนธรรมสุขภาพ 3(3-0-6)
562 505 ระเบียบวิธีการวิจัยทางเภสัชศาสตร์สังคมและการบริหาร 3(3-0-6)
562 507 การจัดการโครงการวิจัย 1(0-3-0)
วิชาเลือก 3
รวมจำนวน 13


ปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1

รหัสวิชา ชื่อรายวิชา จำนวนหน่วยกิจ
563 551 วิทยานิพนธ์ (มีค่าเทียบเท่า) 6
รวมจำนวน 6


ปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2

รหัสวิชา ชื่อรายวิชา จำนวนหน่วยกิจ
563 551 วิทยานิพนธ์ (มีค่าเทียบเท่า) 6
รวมจำนวน 6




ระบุเวลาปกติ และเวลาเรียนสูงสุด แยกตามแผนการศึกษา


ระยะของหลักสูตร 2 ปี สามารถศึกษาได้ไม่เกิน 5 ปี





รายชื่อ course พร้อม course description


562 501 การจัดการองค์กรสมรรถนะสูง
(High Performance Organization Management)


     ความสำคัญของการบริหารจัดการในองค์กรสุขภาพ การวางแผนกลยุทธ์ การบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลง การออกแบบองค์กร การนำองค์กรสุขภาพ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ เครื่องมือและเทคโนโลยีในการจัดการ การจัดการด้านการเงินการจัดการคุณภาพ การดำเนินการ ติดตาม และ ประเมินผล องค์กรแห่งการเรียนรู้ สำหรับองค์กรสุขภาพ

     Importance of management in a health organization; strategic planning; change management; corporate design; leading a health organization; human resource management; management tools and technology; financial management; quality management; implementation, monitoring and evaluation; learning organization for health organizations.

3(3-0-6)
562 502 การจัดการระบบยา
(Pharmaceutical System Management)


     วิวัฒนาการของระบบยา ความเชื่อมโยงของระบบสุขภาพกับระบบอื่น ๆ นโยบายแห่งชาติด้านยา วงจรระบบยา ทรัพยากรและระบบข้อมูลเพื่อการบริหารระบบยา การคัดเลือกยา การจัดหายา ระบบบริหารคงคลัง ระบบการกระจายยา เครื่องมือในการประเมินระบบยา การพัฒนาแนวทางเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาในการจัดการ ระบบยา

     Evolution of drug system, the linkage between health system and other systems, national drug policy, drug system cycle; resources and information systems for drug system administration; drug selection; drug procurement, inventory management system, drug distribution system; assessment tool in drug system, recommendation development for problem-solving in drug system management.

3(3-0-6)
562 503 โลกทัศน์ทางสังคมวิทยาและวัฒนธรรมสุขภาพ
(Sociological Perspective and Culture of Health)


     การเชื่อมโยงมุมมองทางสังคมวัฒนธรรมกับสถานการณ์ด้านสุขภาพ โดยอาศัยแนวคิดทฤษฎีด้านสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ความสัมพันธ์ ของพฤติกรรมผู้ให้บริการ ผู้รับบริการ และผู้เกี่ยวข้องภายใต้บริบททางวัฒนธรรม รวมถึงการประยุกต์ใช้แนวคิดและทฤษฎีเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพทั้งในระดับบุคคล องค์กร ชุมชน และสังคม

     Connecting sociocultural perspectives to health situations based on the theoretical concepts of sociology and anthropology, behavioral relationship between caregiver-recipients and other parties involved under cultural context; application of concepts and theories usher changes in healthcare at individual, organizational, communal and societal levels.

3(3-0-6)
562 504


     

     

3(3-0-6)
562 505 ระเบียบวิธีการวิจัยทางเภสัชศาสตร์สังคมและการบริหาร
(Research Methodology in Social and Administrative Pharmacy)


     ขั้นตอนการทำวิจัยอย่างเป็นระบบ การกำหนดปัญหาการวิจัย และหัวข้อวิจัย การวางแผน การออกแบบการวิจัย ตัวแปรและข้อมูล ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง การเก็บข้อมูล สถิติสำหรับงานวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูล การแปลผลข้อมูล การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย การเผยแพร่งานวิจัย จริยธรรมในงานวิจัยทางเภสัชศาสตร์สังคมและการบริหาร

     Systematic approachs in conducting research, selection of research problems and topics, research planning, research design, variables and data, population and sample group, data collection, statistics for research, data analysis, data interpretation, preparation of research proposal, research work dissemination, ethics in social and administration pharmacy research.

3(3-0-6)
562 506 สัมมนาทางเภสัชศาสตร์สังคมและการบริหาร
(Seminar in Social and Administration Pharmacy)


     การค้นคว้า รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องทางเภสัชศาสตร์สังคมและการบริหาร การวิเคราะห์และประเมินข้อมูล จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ การนำเสนอข้อมูล การอภิปรายและวิจารณ์อย่างมีเหตุผล;

     Research and collection of information related to social and administrative pharmacy; analysis and evaluation of data from various sources; information presentation; rational discussion and criticism.

1(0-3-0)
562 507 การจัดการโครงการวิจัย
(Research Project Management)


     การพัฒนาหัวข้อวิทยานิพนธ์ การทบทวนวรรณกรรม การค้นคว้า รวบรวมข้อมูลที่เป็นแนวคิด ทฤษฎี ประเด็นที่สำคัญในด้านเภสัชศาสตร์สังคมและการบริหาร ที่เกี่ยวข้องกับวิทยานิพนธ์ การวิเคราะห์และสังเคราะห์ให้เห็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับวิทยานิพนธ์ การเขียนโครงร่างวิทยานิพนธ์ การนำเสนอข้อมูล การอภิปรายและวิจารณ์อย่างมีเหตุผล

     Development of thesis topic; literature review; searching and gathering concepts and theories, important issues in social and administrative pharmacy related to thesis; analyzing and synthesizing issues related to thesis; thesis proposal writing; presentation of information; rational discussion and criticism.

1(0-3-0)
562 511 การตัดสินใจทางเภสัชกรรม
(Managerial Decision Making in Pharmacy)


     กระบวนการและขั้นตอนในการตัดสินใจ เกณฑ์การตัดสินใจ ทฤษฎีและตัวแบบที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ ปัจจัยที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจ ลักษณะของการตัดสินใจ การตัดสินใจทางสุขภาพและเภสัชกรรม เครื่องมือ การตัดสินใจเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ จริยธรรมในการตัดสินใจ

     Decision-making processes and procedures; decision criteria; theories and models in decision making; factors affecting the decision-making process; the nature of the decision-making in healthcare and pharmaceutical context; qualitative and quantitative decision tools; ethics in decision-making.

3(3-0-6)
562 512 การประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ
(Health Technology Assessment)


     ความสำคัญของการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพในการบริหารจัดการระบบยา การประเมินต้นทุนด้านสุขภาพ การประเมินผลลัพธ์ด้านสุขภาพ แบบจำลองสถานะทางสุขภาพ การประยุกต์เครื่องมือการวิเคราะห์ความคุ้มค่า ในการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ การวิเคราะห์ความไว การประเมินการศึกษาวิจัยทางเทคโนโลยีด้านสุขภาพ

     The importance of health technology assessment in drug system management; assessment of healthcare cost; assessment of health outcomes; models for health status assessment; application of cost-effectiveness tools in assessing health technology rational discussion sensitivity analysis; evaluation of research studies in health technology.

3(3-0-6)
562 513 กฎหมายและจริยธรรมในการจัดการงานเภสัชกรรม
(Law and Ethics in Pharmacy Management)


     แนวคิดด้านจริยธรรมจรรยาบรรณในการบริหารจัดการ โดยเฉพาะการบริหารจัดการระบบสุขภาพตลอดจนการบังคับใช้พระราชบัญญัติและกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการจัดการงานเภสัชกรรม การตีความและการบังคับใช้กฎหมาย

     Ethical concepts in manangement especially in health system manangement including enforcement of acts and laws related to pharmacy management, interpretation, and enforcement of the laws.

3(3-0-6)
562 514 การประยุกต์ใช้ระบาดวิทยาในการจัดการความปลอดภัยด้านยาและสุขภาพ
(Application of Epidemiology in Health System Management)


     การเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ระบบจัดการสัญญาณอันตรายจากการใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ การวัดทางระบาดวิทยา รูปแบบและวิธีการดำเนินงานวิจัยทางระบาดวิทยา การประยุกต์ใช้ระบาดวิทยาในการคัดกรองและสอบสวนปัญหาด้านสุขภาพ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติที่ใช้ทางระบาดวิทยา การแปลผลเพื่อใช้ในงานเภสัชกรรมและงานสาธารณสุข

     Safety surveillance for drug and health products; management system for unsafe signal from the use of medicines and health products; epidemiological measurements; type of studies and research approach in epidemiology; application of epidemiology for the screening and investigation of health problems; data analysis using epidemiological statistics, interpreting results for the use in pharmacy and public health.

2(2-0-4)
562 515 มานุษยวิทยาทางยาและเทคโนโลยีทางการแพทย์
(Anthropology and Medical Technology)


     ทฤษฎีพื้นฐานทางมานุษยวิทยาการแพทย์ การมองประเด็นด้านสุขภาพ การเจ็บป่วย การใช้ยาและเทคโนโลยีทางการแพทย์ด้วยมุมมอง ทางมานุษยวิทยา การวิเคราะห์บทบาท คุณค่าความหมายของยาและเทคโนโลยีทางการแพทย์ รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการใช้ยาและเทคโนโลยีทางการแพทย์ภายใต้ความสัมพันธ์ของรัฐ อุตสาหกรรมยา ประชาชน และผู้ป่วย

     Basic principle of medical anthropology; perspectives of health, illness, drug use and medical technology from an anthropological standpoints; analyzing roles and meaning of medicine and medical technology including the impacts arising from their uses in relation to the government, pharmaceutical industry, people and patients.

2(2-0-4)
562 516 สถิติเพื่อการวิจัย
(Statistics for Research)


     หลักการและแนวคิดของสถิติในงานวิจัยด้านสุขภาพและสังคมศาสตร์ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ความแปรปรวน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ สถิติไม่อิงพารามิเตอร์ การเลือกวิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสถิติสำเร็จรูป การแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูล

     Principles and concepts of statistics in health and social science research, mean comparison, analysis of variance, correlation analysis, multiple regression analysis, non-parametric statistics; selection of statistical methods for data analysis; data analysis with statistical programs; interpretation of analyzed data.

2(2-0-4)
562 517 หัวข้อปัจจุบันทางเภสัชศาสตร์สังคมและการบริหาร
Current Topics in Social and Administrative Pharmacy)


     ศึกษาการเปลี่ยนแปลง การพัฒนา แนวโน้ม และแนวคิดด้านเภสัชศาสตร์สังคมและการบริหาร นวัตกรรมในงานเภสัชกรรม การประยุกต์หลักการ และทฤษฎีในด้านเภสัชศาสตร์สังคมและการบริหารเพื่อพัฒนางานเภสัชกรรม

     Study of changes, development, trends, and concepts in social and administrative pharmacy; innovation in pharmacy; application of principles and theories in social and administrative pharmacy for pharmaceutical development.

2(2-0-4)
562 518 การทัศนศึกษาทางวิชาการในองค์กรสุขภาพ
(Academic Field Trip in Health System Organizations)


     การทัศนศึกษาทางวิชาการในองค์กรสุขภาพ โครงสร้างองค์กร บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ ระบบงาน วิธีการดำเนินงาน ความสัมพันธ์ขององค์กรกับระบบสุขภาพ การเปรียบเทียบระบบบริหารงานด้านเภสัชกรรมของสถานที่ทั้งในและ/หรือต่างประเทศ

     Academic field trip in health system organizations; organization structure, roles and responsibilities; work system; work procedure; relationship between the organization and health system, comparison of pharmaceutical administration system in domestic and/or international settings.

1(0-1-0)
562 519 การจัดการความสัมพันธ์ของลูกค้าในองค์กรสุขภาพ
(Customer Relationship Management in Health Organizations)


     ลักษณะของผู้บริโภค พฤติกรรมการรับบริการและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ กระบวนการตัดสินใจของผู้บริโภค ความสำคัญและหลักการของการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ในมุมมองด้านการตลาด กระบวนการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ การวางแผนการปฏิบัติการการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ การจัดการประสบการณ์ลูกค้า

     Consumer characteristics, customer behavior in toward health services and health products, consumer decision-making process, principles and concepts of customer relationship management, customer relationship management in marketing context, customer relationship management process, data analysis for customer relationship management, customer relationship management plan and operation, customer experience management.

2(2-0-4)
562 520 การจัดการตลาดทางเภสัชกรรม
(Pharmaceutical Marketing Management)


     ปรัชญาและแนวคิดการจัดการตลาดทางเภสัชกรรม การวิเคราะห์หาโอกาสทางการตลาด ปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการกำหนดกลยุทธ์ การวิจัยทางการตลาด การดำเนินงาน การประเมินผล การกำกับกระบวนการทางการตลาด

     Philosophy and concepts of marketing management in pharmacy, analysis of market opportunities, factors affecting strategic planning, market research, implementing, evaluating, monitoring marketing processes.

3(3-0-6)
562 551 วิทยานิพนธ์
(Thesis)


     การดำเนินการวิจัยในหัวข้อเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับด้านเภสัชศาสตร์สังคมและการบริหารภายใต้การดูแลและให้คำปรึกษาโดยอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์

     Conducting a specific research topic related to social and administrative pharmacy under the supervision of a thesis advisor.

จำนวนไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
563 504 การจัดการความเสี่ยงและเสริมสร้างศักยภาพผู้บริโภค
(Risk Management and Consumer Empowerment)


     ความสำคัญของการจัดการความเสี่ยง กระบวนการจัดการความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์และบริการด้านสุขภาพ การระบุความเสี่ยง การค้นหาความเสี่ยง การวิเคราะห์ความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยง การจัดลำดับความเสี่ยง กลยุทธ์การจัดการความเสี่ยงด้วยวิธีการต่าง ๆ การสื่อสารความเสี่ยง การรู้เท่าทันสื่อทางสุขภาพ การประยุกต์ใช้ความรู้ในการจัดทำข้อมูลและออกแบบสื่อเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ การเสริมสร้างศักยภาพผู้บริโภคผ่านการใช้สื่อด้านสุขภาพ

     The importance of risk management; risk management processes for health products and services; risk identification; risk investigation; risk analysis; risk assessment; risk prioritization, risk management strategies; risk communication; health literacy; application of data preparation and media design for consumer protection in drug and health; consumer empowerment through health media.

3(3-0-6)
563 506 นโยบายด้านยาและสุขภาพ
(Drug and Health Policy)


     ความสำคัญของนโยบายสุขภาพ ความเชื่อมโยงระหว่างระบบสุขภาพและนโยบายสุขภาพ แนวคิดและทฤษฏีการกำหนดนโยบาย นโยบายสาธารณะ กระบวนการนโยบาย การพัฒนานโยบายสุขภาพ การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ การวิเคราะห์นโยบาย เครื่องมือในการประเมินนโยบาย ความเป็นธรรมของนโยบายสุขภาพ การจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย ทิศทางการพัฒนานโยบายด้านยาและสุขภาพ

     The importance of health policy; the relationship between health systems and health policy; concepts and theories of policy making; public policy; policy process; health policy development; policy implementation; policy analysis; policy assessment tools; fairness in health policy; policy brief preparation; direction of drug and health policy development.

2(2-0-4)
563 511 การทบทวนวรรณกรรมเพื่อสังเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ
(Systematic Reviews for Evidence Synthesis)


     ความสำคัญของการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ ขั้นตอนการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ วิธีการสืบค้น การคัดเลือกงานวิจัย การสกัดข้อมูล การประเมินคุณภาพของข้อมูลจากการศึกษาทางระบาดวิทยา การวิเคราะห์อภิมาน

     The importance of systematic reviews; systematic review process; searching methods; research selection; data extraction; quality assessment of epidemiological study; meta-analysis.

2 (2-0-4)






images/msg_ico_n.png
images/msg_ico.png