หลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ


หลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561)


ชื่อหลักสูตร หลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ
Master of Pharmacy Program in Health Informatics
ปรัชญา บัณฑิตมีความรู้และทักษะ ด้านสารสนเทศศาสตร์เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ และสามารถค้นคว้า วิจัย เพื่อแก้ปัญหาในวิชาชีพเภสัชกรรมและสุขภาพ
วัตถุประสงค์ เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้และทักษะความสามารถในด้าน
1 การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการสืบค้นและการประเมินความถูกต้อง และความน่าเชื่อถือของข้อมูลและสารสนเทศทางสุขภาพ
2 การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการออกแบบการจัดเก็บรวบรวมข้อมูล และการค้นคืนข้อมูลและสารสนเทศทางสุขภาพ
3 การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลและสารสนเทศทางสุขภาพ ให้เกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่
4 การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการสร้างสื่อสมัยใหม่ทางสุขภาพ
5 การค้นคว้าและนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการวิจัยด้านสารสนเทศศาสตร์สุขภาพ ทั้งในแง่ของการสร้างนวัตกรรมและการประยุกต์ โดยมีสหสัมพันธ์เชิงรุกกับองค์กรหรือหน่วยงานอื่นของภาครัฐและเอกชน

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

1 สำหรับแผน ก แบบ ก 1

    1)สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเภสัชศาสตรบัณฑิต และมีผลการศึกษาเฉลี่ยสะสม ไม่ต่ำกว่า 2.75
    2)มีความรู้ ข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
        2.1)ศึกษาวิชาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ สารสนเทศศาสตร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต จากสถาบันอุดมศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการหรือ ก.พ. รับรอง และค่าเฉลี่ยของวิชาเหล่านี้ ต้องไม่น้อยกว่า 3.00 โดยคิดจากหลักสูตรใดหลักสูตรหนึ่งหรือคิดจากผลการศึกษาเฉลี่ยจนถึง ภาคการศึกษาสุดท้ายของหลักสูตรที่กำลังศึกษาอยู่ หรือ
        2.2)ผ่านการอบรมหลักสูตรด้านสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 64 ชั่วโมงที่ทางภาควิชาสารสนเทศศาสตร์ทางสุขภาพ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นผู้จัด หรือ
        2.3)มีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศศาสตร์ซึ่งเผยแพร่ตีพิมพ์ในระดับที่ไม่ต่ำกว่า งานประชุมวิชาการในระดับชาติอย่างน้อย 1 เรื่อง หรือ
        2.4)มีประสบการณ์ในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศเฉพาะด้าน ไม่น้อยกว่า 3 ปี โดยต้องมีหนังสือรับรองจากหน่วยงาน     3)มีคุณสมบัติอย่างอื่น ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการประจำคณะเภสัชศาสตร์
    4)มีคุณสมบัติครบถ้วนที่กำหนดในข้อบังคับมหาวิทยาลัยศิลปากร ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2550 (ภาคผนวก ก) และ/หรือที่มีการเปลี่ยนแปลงภายหลัง

สำหรับแผน ก แบบ ก 2 และ แผน ข

    1)สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเภสัชศาสตรบัณฑิต
    2)มีคุณสมบัติอย่างอื่น ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการประจำคณะเภสัชศาสตร์
    3)มีคุณสมบัติครบถ้วนที่กำหนดในข้อบังคับมหาวิทยาลัยศิลปากร ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2550 (ภาคผนวก ก) และ/หรือที่มีการเปลี่ยนแปลงภายหลัง

โครงสร้างหลักสูตร

มี 3 แผนการศึกษา ดังนี้

แผน ก แบบ ก 1

หมวดวิชาบังคับ (ไม่นับหน่วยกิต) 5 หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ (มีค่าเทียบเท่า) 36 หน่วยกิต

แผน ก แบบ ก 2

หมวดวิชาบังคับ 18 หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ (มีค่าเทียบเท่า) 15 หน่วยกิต

แผน ข

หมวดวิชาบังคับ 18 หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
การค้นคว้าอิสระ (มีค่าเทียบเท่า)และสอบประมวลความรู้ 6 หน่วยกิต

หมายเหตุ ผู้ที่เข้าศึกษาหลักสูตรนี้สามารถเลือกเรียนแผนการศึกษาตามโครงสร้างของหลักสูตรแผน ก แบบ ก 1 หรือ แผน ก แบบ ก 2 หรือ แผน ข แผนใดแผนหนึ่งโดยให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร การเปลี่ยนแผนการศึกษาให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมบริหารหลักสูตรและให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยศิลปากร ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2550 ข้อ 17 (ภาคผนวก ก) และ/หรือที่มีการเปลี่ยนแปลงภายหลัง

รายวิชา

แผน ก แบบ ก 1

หมวดวิชาบังคับ (ไม่นับหน่วยกิต) วัดผลการศึกษาเป็น S หรือ U จำนวน 5 หน่วยกิต
550 525 ระเบียบวิธีวิจัยสารสนเทศศาสตร์สุขภาพ
(Research Methodology in Health Informatics)
3*(3-0-6)
551 626 สัมมนาทางสารสนเทศศาสตร์สุขภาพ 1
(Seminar in Health Informatics I)
1*(0-3-0)
551 627 สัมมนาทางสารสนเทศศาสตร์สุขภาพ 2
(Seminar in Health Informatics II)
1*(0-3-0)

หมายเหตุ นักศึกษาแผน ก แบบ ก 1 ที่มีพื้นฐานความรู้ไม่เพียงพอต่อการทำวิทยานิพนธ์ ต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชาเพิ่มเติม ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการประจำหลักสูตร
วิทยานิพนธ์
550 712 วิทยานิพนธ์
(Thesis)
(มีค่าเทียบเท่า) 36 หน่วยกิต

หมายเหตุ * หมายถึง รายวิชาที่เรียนโดยไม่นับหน่วยกิต

แผน ก แบบ ก 2

หมวดวิชาบังคับ จำนวน 18 หน่วยกิต ประกอบด้วยรายวิชาต่อไปนี้
550 525 ระเบียบวิธีวิจัยสารสนเทศศาสตร์สุขภาพ
(Research Methodology in Health Informatics)
3(3-0-6)
550 874 การออกแบบและจัดทำฐานข้อมูลสำหรับการจัดการสารสนเทศสุขภาพ
(Database Design and Implementation for Health Information Management)
3(3-0-6)
550 875 เครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพ
(Tools for Health Data Analysis)
2(2-0-4)
550 876 การสืบค้นและประเมินสารสนเทศทางเภสัชกรรมและสุขภาพ
(Searching and Evaluation of Pharmaceutical and Health Information)
2(2-0-4)
550 877 สื่อสุขภาพ
(Health Media)
2(2-0-4)
550 880 สารสนเทศศาสตร์สุขภาพและการจัดการสารสนเทศสุขภาพ
(Health Informatics and Health Information Management)
4(4-0-8)
551 626 สัมมนาทางสารสนเทศศาสตร์สุขภาพ 1
(Seminar in Health Informatics I)
1(0-3-0)
551 627 สัมมนาทางสารสนเทศศาสตร์สุขภาพ 2
(Seminar in Health Informatics II)
1(0-3-0)

หมวดวิชาเลือก จำนวนไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต โดยเลือกจากรายวิชาต่อไปนี้
550 851 ระบบคอมพิวเตอร์และหลักการโปรแกรมสำหรับสารสนเทศศาสตร์ ทางเภสัชกรรมและสุขภาพ
(Computer Systems and Principles of Programming for Pharmaceutical and Health Informatics)
3(2-2-5)
550 854 การโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับสารสนเทศศาสตร์ทางเภสัชกรรมและสุขภาพ
(Computer Programming for Pharmaceutical and Health Informatics)
3(2-2-5)
550 855 สถิติสำหรับงานวิจัยด้านสารสนเทศศาสตร์ทางเภสัชกรรมและสุขภาพ
(Statistics for Research in Pharmaceutical and Health Informatics)
3(2-2-5)
550 856 เทคนิคการจำลองสำหรับสารสนเทศศาสตร์ทางเภสัชกรรมและสุขภาพ 3
(Simulation Techniques for Pharmaceutical and Health Informatics)
(3-0-6)
550 857 ซอฟท์แวร์โอเพนซอร์สสำหรับสารสนเทศศาสตร์ทางเภสัชกรรมและสุขภาพ 3
(Open Source Software for Pharmaceutical and Health Informatics)
(2-2-5)
550 859 การประยุกต์คอมพิวเตอร์ด้านสารสนเทศศาสตร์ทางเภสัชกรรมและสุขภาพ 3
(Computer Applications in Pharmaceutical and Health Informatics)
(2-2-5)
550 860 การประยุกต์อินเทอร์เน็ตสำหรับสารสนเทศศาสตร์ทางเภสัชกรรมและสุขภาพ
(Applications of Internet for Pharmaceutical and Health Informatics)
3(2-2-5)
550 867 การค้นคืนข้อมูลสำหรับสารสนเทศศาสตร์ทางเภสัชกรรมและสุขภาพ
(Information Retrieval for Pharmaceutical and Health Informatics)
3(2-2-5)
550 869 การเผยแพร่สารสนเทศทางเภสัชกรรมและสุขภาพผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 3
(Pharmaceutical and Health Informatics Presentation through Electronic Medias)
(2-2-5)
550 870 ปัญหาพิเศษด้านสารสนเทศศาสตร์ทางเภสัชกรรมและสุขภาพ 1
(Special Problems in Pharmaceutical and Health Informatics I )
1(0-3-0)
550 871 ปัญหาพิเศษด้านสารสนเทศศาสตร์ทางเภสัชกรรมและสุขภาพ 2
(Special Problems in Pharmaceutical and Health Informatics II)
2(2-0-4)
550 872 การวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพ
(Health Data Analysis)
3(2-2-5)

วิทยานิพนธ์
550 707 วิทยานิพนธ์
(Thesis)
(มีค่าเทียบเท่า) 15 หน่วยกิต


แผน ข

หมวดวิชาบังคับ จำนวน 18 หน่วยกิต ประกอบด้วยรายวิชาต่อไปนี้
550 525 ระเบียบวิธีวิจัยสารสนเทศศาสตร์สุขภาพ
(Research Methodology in Health Informatics)
3(3-0-6)
550 874 การออกแบบและจัดทำฐานข้อมูลสำหรับการจัดการสารสนเทศสุขภาพ
(Database Design and Implementation for Health Information Management)
3(3-0-6)
550 875 เครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพ
(Tools for Health Data Analysis)
2(2-0-4)
550 876 การสืบค้นและประเมินสารสนเทศทางเภสัชกรรมและสุขภาพ
(Searching and Evaluation of Pharmaceutical and Health Information)
2(2-0-4)
550 877 สื่อสุขภาพ
(Health Media)
2(2-0-4)
550 880 สารสนเทศศาสตร์สุขภาพและการจัดการสารสนเทศสุขภาพ
(Health Informatics and Health Information Management)
4(4-0-8)
551 626 สัมมนาทางสารสนเทศศาสตร์สุขภาพ 1
(Seminar in Health Informatics I)
1(0-3-0)
551 627 สัมมนาทางสารสนเทศศาสตร์สุขภาพ 2
(Seminar in Health Informatics II)
1(0-3-0)

หมวดวิชาเลือก จำนวนไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต โดยเลือกจากรายวิชาต่อไปนี้
550 851 ระบบคอมพิวเตอร์และหลักการโปรแกรมสำหรับสารสนเทศศาสตร์ ทางเภสัชกรรมและสุขภาพ
(Computer Systems and Principles of Programming for Pharmaceutical and Health Informatics)
3(2-2-5)
550 854 การโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับสารสนเทศศาสตร์ทางเภสัชกรรมและสุขภาพ
(Computer Programming for Pharmaceutical and Health Informatics)
3(2-2-5)
550 855 สถิติสำหรับงานวิจัยด้านสารสนเทศศาสตร์ทางเภสัชกรรมและสุขภาพ
(Statistics for Research in Pharmaceutical and Health Informatics)
3(2-2-5)
550 856 เทคนิคการจำลองสำหรับสารสนเทศศาสตร์ทางเภสัชกรรมและสุขภาพ 3
(Simulation Techniques for Pharmaceutical and Health Informatics)
(3-0-6)
550 857 ซอฟท์แวร์โอเพนซอร์สสำหรับสารสนเทศศาสตร์ทางเภสัชกรรมและสุขภาพ 3
(Open Source Software for Pharmaceutical and Health Informatics)
(2-2-5)
550 859 การประยุกต์คอมพิวเตอร์ด้านสารสนเทศศาสตร์ทางเภสัชกรรมและสุขภาพ 3
(Computer Applications in Pharmaceutical and Health Informatics)
(2-2-5)
550 860 การประยุกต์อินเทอร์เน็ตสำหรับสารสนเทศศาสตร์ทางเภสัชกรรมและสุขภาพ
(Applications of Internet for Pharmaceutical and Health Informatics)
3(2-2-5)
550 867 การค้นคืนข้อมูลสำหรับสารสนเทศศาสตร์ทางเภสัชกรรมและสุขภาพ
(Information Retrieval for Pharmaceutical and Health Informatics)
3(2-2-5)
550 869 การเผยแพร่สารสนเทศทางเภสัชกรรมและสุขภาพผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 3
(Pharmaceutical and Health Informatics Presentation through Electronic Medias)
(2-2-5)
550 870 ปัญหาพิเศษด้านสารสนเทศศาสตร์ทางเภสัชกรรมและสุขภาพ 1
(Special Problems in Pharmaceutical and Health Informatics I )
1(0-3-0)
550 871 ปัญหาพิเศษด้านสารสนเทศศาสตร์ทางเภสัชกรรมและสุขภาพ 2
(Special Problems in Pharmaceutical and Health Informatics II)
2(2-0-4)
550 872 การวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพ
(Health Data Analysis)
3(2-2-5)

การค้นคว้าอิสระ
550 707 การค้นคว้าอิสระ
(Independent Study)
(มีค่าเทียบเท่า) 6 หน่วยกิต


การจัดการเรียนการสอน

     จัดการเรียนการสอนในวัน-เวลาราชการและจัดการเรียนการสอนในลักษณะโครงการพิเศษ จัดการเรียนการสอนในวันเสาร์- อาทิตย์

ระยะเวลาในการศึกษา

     หลักสูตร 2 ปี

สถานที่จัดการเรียนการสอน

     ภาคปกติ  จัดการเรียนการสอนที่ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์
     ภาคพิเศษ  จัดการเรียนการสอนที่ มหาวิทยาลัยศิลปากร ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


     1 เภสัชกรในหน่วยงานของรัฐ และเอกชน
     2 เภสัชกรผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการร้านยา และประกอบธุรกิจร้านยา
     3 ผู้สอน นักวิจัย และนักวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับงานสารสนเทศทางเภสัชศาสตร์ ในหน่วยงานราชการ และเอกชน ที่เกี่ยวข้องด้านเภสัชศาสตร์
     4 นักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศทางเภสัชศาสตร์ ในหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน
     5 นักวิเคราะห์และออกแบบระบบงานสารสนเทศทางเภสัชศาสตร์

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่


สอบถามรายละเอียดการสมัครเข้าศึกษาต่อ

บัณฑิตวิทยาลัย

ตลิ่งชัน - ชั้น 2 สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170
โทรศัพท์ 02– 8497502– 3 หรือ 088– 2292015

นครปฐม - ชั้น 7 อาคาร 50 ปี มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม 73000
โทรศัพท์ 034– 218788– 91

วังท่าพระ - อาคารหอประชุมใหญ่ ชั้น 2 ติดกับห้องประชุม 304 มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กรุงเทพฯ 10200
โทรศัพท์ 02– 2227129 หรือ 02– 6236115 ต่อ 12526 - 28

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

6 ถ.ราชมรรคาใน ต.พระปฐมเจดีย์ อ.เมือง
จ.นครปฐม 73000
โทรศัพท์ 034– 255800 หรือ 089– 9185250
Email: graduate.rx.su@gmail.com
www.pharmacy.su.ac.th
Facebook: ฝ่ายบัณฑิตศึกษา คณะเภสัชศาสตร์ ม.ศิลปากร
LINE ID: GRADUATERXSU

ติดต่อสอบถามรายละเอียดหลักสูตรการจัดการเรียนการสอน
Email: rungpragayphan_s@su.ac.th
Facebook: สารสนเทศศาสตร์ เภสัชศิลปากร